วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2562

Knowledge Management : KM หรือ การจัดการความรู้


ความหมาย Knowledge Management 

 Knowledge Management เป็นการรวบรวม จัดเรียง หรือสร้างองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ทั้งในตัวบุคคลและเอกสาร เพื่อให้คนภายในองค์กรสามารถที่จะเข้าถึงความรู้ หรือข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ได้ แล้วนำมาพัฒนาตัวเองและนำไปใช้เพื่อพัฒนาองค์กรอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด

Knowledge ในกรณีนี้ สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทคือ

  • Tacit Knowledge คือความรู้ที่มีอยู่ในตัวของบุคคล เช่น ประสบการณ์ พรสวรรค์ สัญชาตญาณหรือไหวพริบของแต่ละคนในการที่จะทำความเข้าใจกับงานหรือข้อมูลต่างๆ ซึ่งความรู้พวกนี้ไม่สามารถที่จะถ่ายทอดผ่านตัวอักษรออกมาได้ง่ายๆ จึงสามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความรู้แบบนามธรรม
  • Explicit Knowledge เป็นความรู้ที่ได้มาจากทฤษฏี คำนิยาม หรือคู่มือต่างๆ ที่ใครๆ ก็สามารถที่จะเข้าถึง หรือเรียนรู้ได้ สามารถที่จะถ่ายทอดผ่านวิธีการต่างๆได้ จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความรู้แบบรูปธรรม

Knowledge Management ช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้

ในหลายๆองค์กรมักจะมีปัญหาต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้น แต่เมื่อไรที่องค์กรมีการจัดการความรู้ หรือ Knowledge Management ปัญหาต่างๆเหล่านี้ก็จะหมดไป
  • เมื่อไรที่องค์กรมีการลาออกของบุคลากรหรือการเกษียณของบุคลากร งานของตำแหน่งนั้นๆ มักจะมีปัญหา
  • เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นแล้ว ไม่สามารถที่จะจัดการ หรือไม่สามารถที่จะหาผู้ที่เชี่ยวชาญด้านนั้นได้
  • บุคลากรบางคนมีความรู้มาก แต่คนอื่นๆ กลับไม่ให้ความสนใจที่จะเรียนรู้ หรือสอบถาม
  • ไม่มีการต่อยอดความรู้ในองค์กร อันเนื่องมาจากการขาดการแลกเปลี่ยนความรู้ใหม่ๆ
  • เกิดความล่าช้าในการค้นหาข้อมูล บางครั้งไม่พบข้อมูล หรืออาจจะพบแต่กลับเป็นข้อมูลที่ล้าสมัย
  • ความรู้ต่างๆในองค์กรมีมาก แต่ไม่มีความสามารถที่จะนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

Knowledge Management ช่วยให้การปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายได้

การจัดการองค์ความรู้ ก็เปรียบเหมือนการสร้างเครื่องจักรเพื่อมาช่วยในการผลิตสินค้า กล่าวคือ การจัดการความรู้จะช่วยให้องค์กรหรือบริษัท สามารถบรรลุเป้าหมายได้ง่ายขึ้น คือ
  1. งานบรรลุเป้าหมาย
  2. บรรลุเป้าหมายในพัฒนาคน
  3. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กร
  4. บรรลุเป้าหมายในเรื่องของความสามัคคีในหมู่คณะของการทำงาน

องค์ประกอบของ Knowledge Management

การจัดการความรู้จะต้องพึ่ง 3 องค์ประกอบหลักดังนี้ คือ
  1. คน คนหรือบุคลากรถือเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญที่สุดในการนำเนินการจัดการความรู้ หรือ Knowledge Management เพราะคนเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญที่สุด และคนคือผู้ที่จะนำความรู้ต่างๆ ไปใช้ในการพัฒนาองค์กร
  2. เทคโนโลยี เปรียบเสมือนอีก 1 มือของคน ที่เป็นตัวช่วยการค้นหา แลกเปลี่ยน ที่สำคัญคือสามารถจัดเก็บข้อมูล ทำให้คนสามารถที่จะนำความรู้ต่างๆ ไปใช้ในการพัฒนาองค์กรได้อย่างง่าย แถมยังรวดเร็วขึ้นอีกด้วย
  3. กระบวนการความรู้ คือการบริหารจัดการในทุกๆ ขั้นตอนของการจัดการองค์ความรู้ โดยในทุกๆส่วน จะต้องมีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันอย่างสมดุล รวมไปถึงอย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดการความรู
(Knowledge Management-KM)
  การจัดการความรู้หรือที่เรียกย่อ ว่า KM คือ เครื่องมือเพื่อใช้ในการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 3 ประการไปพร้อมๆกัน คือ
bullet
   บรรลุเป้าหมายของงาน
bullet
   บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน
bullet
   และบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาองค์กรไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
ประเภทของความรู้
  วามรู้อาจแบ่งได้ 2 ประเภทคือ
       1. ความรู้เด่นชัด (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่อยู่ในรูปแบบที่เป็นเอกสาร ได้แก่ ตำราวิชาการ เอกสารคู่มือปฎิบัติงาน
      2ความรู้ซ่อนเร้น (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่แฝงในตัวคน เป็นประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนานจากประสบการของการทำงาน  อยู่ในลักษณะที่เรียกว่า ภูมิปัญญา
      ซึ่งหากองค์กรมีการจัดการความรู้  ก็จะทำให้ ความรู้เผยแพร่อย่างกว้างขวาง สามารถนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากมายในทุกวงการ